วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ระบบทะเบียนสินค้า ตอนที่ 3 เพิ่ม/แสดง/ลบ รายการสินค้า

ระบบทะเบียนสินค้า ตอนที่ 3  เพิ่ม/แสดง/ลบ รายการสินค้า
วันนี้ขออัปเดตบล็อกของตัวเองซะหน่อยคับ ผมสอนแค่การเพิ่มรายการสินค้า แสดงรายการสินค้า และลบรายการสินค้าก่อนคับ ส่วนการแก้ไขข้อมูลสินค้า ,แก้ไขรูป ,ลบรูปสินค้า จะขออธิบายในบทความตอนต่อไปคับ เนื่องจากว่า เนื้อหาที่จะนำเสนอมีค่อนข้างเยอะ ไม่สามารถอธิบายทั้งหมดได้ในบทความนี้คับ  ก่อนอื่นท่านต้องกลับไปศึกษา บทความตอนที่ 1 กับ ตอนที่ 2 ก่อนคับ เผื่อจะได้ไม่งงกับบทความตอนนี้ เพราะมันต่อยอดมาจากบทความตอนที่1กับตอนที่2นั้นเองคับ
ผมได้ดีไซน์เว็บเพจของผม ดังนี้คับ

วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ระบบทะเบียนสินค้า ตอนที่ 2 เพิ่ม แสดง ลบ หมวดหมู่สินค้า

ต่อจากบทความตอนที่ 1 เรื่องของการออกแบบและการสร้างฐานข้อมูล บทความตอนนี้จะสอนท่านเขียนโปรแกรม เพื่อเพิ่มแสดง ลบ หมวดหมู่สินค้า (แต่ไม่มีแก้ไขเพราะไม่จำเป็น) ผมได้ออกแบบหน้าเว็บเพจตามในตอนที่ 1 เรียบร้อยแล้วคับ เรามาดูหน้าตาที่ผมออกแบบไว้กันเลย ส่วนฐานข้อมูลของผมชื่อ db_exshop table คือ tb_category คับ

วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ระบบทะเบียนสินค้า ตอนที่ 1 การสร้างเทเบิลเพื่อจัดเก็บข้อมูลสินค้าและการออกแบบเว็บเพจ


บทความต่อไปนี้ ท่านได้เห็นภาพของระบบE-Commerceมากยิ่งขึ้น เราจะสอนท่านทำระบบจัดการข้อมูลสินค้าภายในร้านของท่าน โดยระบบนี้ เราจะสอนท่านทำคือ การเพิ่ม แสดง ลบ แก้ไข หมวดหมู่และรายการสินค้า สำหรับสินค้าที่ผมจะใช้ประกอบการสอนในบทความนี้คือ ตุ๊กตาถักไหมพรม คับ
ผมได้สร้างเทเบิลหมวดหมู่สินค้าและเทเบิลรายการสินค้า ดังรูปคับ

แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง table tb_category(หมวดหมู่สินค้า)และ tb_product(รายการสินค้า)

วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ระบบข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ตอนที่ 3 การเขียนคำสั่งเพื่อ Update ข้อมูลในฐานข้อมูล MySQL ของสมาชิก (ตอนจบ)

บทความตอนนี้เป็นบทความตอนสุดท้ายของระบบข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ผมจะสอนเขียนคำสั่ง PHP สำหรับ Update ข้อมูลในฐานข้อมูล db_exshop ของเทเบิล tb_member ผลลัพธ์ของโปรแกรมจะเป็นดังนี้คับ
หากสมาชิกต้องการแก้ไขข้อมูลเช่น ชื่อ-สกุล , เบอร์โทร เป็นต้น สามารถกรอกข้อมูลใหม่หรือเพิ่มเติมได้ จากนั้นกดที่ปุ่ม แก้ไข ดังรูป

จะได้ผลลัพธ์ ดังรูป


หรือหากมีกรอกรหัสผ่านใหม่แต่กรอกทั้งสองช่องไม่ตรงกัน จะแสดงผลลัพธ์ดังรูป


เรามาเริ่มลงมือเขียนคำสั่งกันเลยคับ

ระบบข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ตอนที่ 2 แก้ไขและลบรูปภาพของสมาชิก

บทความตอนนี้ ของระบบข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ผมจะสอนท่านเขียนโปรแกรมจัดการกับไฟล์รูปภาพของสมาชิก นั่นก็คือการแก้ไขและลบรูปภาพของสมาชิก ซึ่งสามารถลบแก้ไขรูปภาพของตนเองได้เท่านั้นคับ แต่ไม่สามารถที่จะเข้าไปแก้ไขหรือลบของสมาชิกคนอื่นๆได้


ผลลัพธ์ที่ได้จะแสดงดังรูปต่อไปนี้
หากต้องการจะเปลี่ยนรูปภาพให้คลิกที่ แก้ไขรูป ดังรูป


ผลลัพธ์จากการแก้ไขรูป ดังรูป


หากต้องการจะลบรูปให้คลิกที่ ลบรูป ดังรูป


ผลลัพธ์จากการลบรูปภาพ


เรามาดูกันคับว่า ผมจะเขียนโค๊ดยังไงให้ได้ผลลัพธ์ตามที่บอกมาคับ

วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ระบบข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ตอนที่1 การสร้างฟอร์มสำหรับแสดงข้อมูลของสมาชิก

บทความนี้เราจะได้เห็นประโยชน์จากการใช้งานตัวแปรแบบเซสชั่นได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งผมได้เกริ่นไปแล้วในบทความที่ผ่านมาคับ จากบทความที่ผ่านคือระบบล็อกอิน เราได้ใช้ตัวแปรเซสชั่นเก็บUsernameของสมาชิกเอาไว้ บทความนี้เรานำใช้ตัวเซสชั่นมาใช้ประโยนช์ในการเข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูลของสมาชิกคนนั้นๆคับ บางท่านอาจจะงงอยู่บ้าง แต่ก็ต้องพยายามศึกษาเนื้อหาที่ผมกำลังนำเสนอต่อไปนี้คับ


มาดูผลลัพธ์ของโปรแกรมกันก่อนเลย
เมื่อเราได้กรอกUsernameและPassword ผ่าน ดังรูป

ไฟล์ login.php

จากนั้นเมื่อเรากดที่ปุ่ม OK มันจะ redirect มายังไฟล์ mbedit.php ซึ่งผมกำลังจะสอนท่านอยู่ในขณะนี้คับ จะได้ผลลัพธ์ของโปรแกรมดังรูป

ไฟล์ mbedit.php

แต่ก่อนอื่นให้ท่านกลับไปเพิ่มโค๊ดในส่วนของjavascript ของไฟล์ login.php ตามบรรทัดที่23ดังรูป

ไฟล์ login.php

จากนั้นสร้างไฟล์ mbedit.php ขึ้นมาหนึ่งไฟล์ แล้วออกแบบให้ได้หน้าตาดังรูป

ไฟล์ mbedit.php

จากนั้นให้กดที่ show code view แล้วพิมพ์โค๊ดPHPตั้งแต่บรรทัดที่1-11ตามนี้เคยคับ


เลื่อนscrollbarลงมาตรงส่วนของbody ให้เพิ่ม/แก้ไขโค๊ด ตามรูปนี้เลยคับ

ไฟล์ mbedit.php

เมื่อกดที่ show design view ดูอีกที ฟอร์มที่เราออกแบบจะมีหน้าตาดังนี้คับ

ไฟล์ mbedit.php


บทความนี้ผมขอนำเสนอแค่นี้ก่อนนะคับ ผมไม่ขออธิบายอะไรมาก บทความต่อไปผมจะมาสอนการ แก้ไข/ลบรูปภาพกันคับ

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ระบบล็อกอิน ตอนที่ 2 การเขียนสคริปต์PHP เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของUsernameและPassword ตอนจบ

บทความตอนนี้เป็นตอนจบของระบบล็อกอินแล้วคับ ผมเองก้ออยากทำให้มันจบไวๆเหมือนกัน เพราะจะได้ทำบทความอย่างอื่นต่อไป อย่างเช่น ระบบข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ระบบทะเบียนสินค้า ระบบตะกร้าสินค้า เป็นต้น บทความตอนนี้ก้อเลยทำเสร็จไวหน่อยคับ ก่อนอื่น เรื่องฐานข้อมูล ผมใช้ฐานข้อมูลตัวเดิมคับ ตามในบทความนี้เลย ส่วนเทเบิลที่ใช้ ผมก็ยังใช้เทเบิลเดิมอยู่คับ คือ tb_member ดังรูป


จากนั้น เราก้อมาลุยกันเลยคับ!!!
เมื่อสั่งให้มันรันและกรอกข้อมูลลงในช่องUsernameและPassword ดังรูป


หากใส่Username และ Password ถูกต้องจะได้ผลลัพธ์ดังรูปคับ


หากใส่ไม่ถูกต้องจะได้ผลลัพธ์ดังรูป


เรามาดูโค๊ดกันคับ 
++ให้กำหนด Star Session และ Import ไฟล์ config.php เข้ามา


บรรทัดที่ 2 คำสั่ง session_start() คือ การประกาศการเก็บค่าจาก Web Server เพื่อนำมาเก็บไว้ในเครื่องของClient เพื่อใช้อ้างอิงเกี่ยวกับการใช้งานของUserคนนั้นๆ (เราจะได้เห็นภาพมากยิ่งขึ้นในบทความต่อไป คือในส่วนของระบบข้อมูลส่วนตัวของสมาชิกคับ) ส่วนบรรทัดที่ 3 คือการเรียกใช้คำสั่งของADODBเพื่อเข้าถึงฐานข้อมูลของเรา

++สำหรับพระเอกของบทความนี้คับ พิมพ์สคริปต์เหล่านี้เข้าไปใต้สคริปต์ของจาวาสคริปต์


บรรทัดที่ 49 ตรวจสอบParameter Request ที่ส่งมาว่าคือ POST(ส่งค่าผ่านฟอร์ม) หรือไม่ หากว่าใช่ ให้ทำงานตั้งแต่บรรทัดที่ 50-62 
บรรทัดที่ 52 ตรวจสอบUsername และ Password ซ้ำอีกครั้งนึง ว่าเป็นค่าว่างหรือไม่ หากไม่เป็นค่าว่า ให้คำสั่งตั้งแต่ 53-61 ทำงาน
บรรทัดที่ 53 ส่งคำสั่ง SQL ไปตรวจสอบในฐานข้อมูลว่ามีUsername กับ Passwordนี้อยู่หรือไม่ แล้ว Return ค่ามาเก็บไว้ในตัวแปร $rs_login ซึ่งค่าที่ได้คือจำนวนของแถว หากเป็นศูนย์แสดงว่า ไม่พบUsernameและPasswordในเทเบิล tb_member คับ
บรรทัดที่ 54 กำหนดเงื่อนไขว่า ถ้าค่าที่ได้เท่ากับ1 ให้สร้างตัวแปรแบบsession (บรรทัดที่ 55 )  มารับค่าคือ ชื่อUsername นั่นเอง และแสดงไดอะล็อก(บรรทัด56-57) หากมีค่าที่ได้นอกเหนือจาก 1 ให้แสดงไดอะล็อกแจ้งเตือนว่า Username หรือ Password ไม่ถูกต้อง

สามารถดาวโหลดโค๊ดที่สมบูรณ์แล้วของบทความนี้ได้จากที่นี่คับ