วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การเชื่อมต่อ FTP Server โดยใช้โปรแกรม Dreamweaver

       หลายท่านคงเลยใช้โปรแกรม Filezilla ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับติดต่อกับ FTP  Server เพื่อเข้าถึงไฟล์ที่อยู่ใน Server ทำให้สามารถดาวน์โหลดมาไว้ในคอมพิวเตอร์ของเรา หรืออัพโหลดไฟล์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ของเราไปเก็บไว้ใน Server
       แต่สำหรับ Web Programmer อย่างผม มันไม่ค่อยสะดวกต่อผมเป็นอย่างมาก ในกรณีที่ต้องทดสอบเว็บไซต์กับHostจริงๆ และจะต้องแก้ไขโค๊ดอยู่ตลอด โดยต้องเปิดโปรแกรม Filezilla ค้างไว้ และแก้โค๊ดไฟล์ของเว็บไซต์ที่อยู่ในเครื่อง แล้วโยนไฟล์ไปที่ Filezilla ทุกครั้งที่แก้ไขไฟล์ จะต้องทำอย่างนี้ทุกครั้งมันดูน่าเบื่อมาก ผมก็เลยใช้Dreamweaverช่วยซะเลย โดยมันสามารถดึงไฟล์ที่อยู่ใน Server ของเรามาโชว์ในโปรแกรม และสามารถเปิดไฟล์แก้ไขได้เลยทันที ทำให้สะดวกมากไม่ต้องเสียทำหลายขั้นตอนให้ยุ่งยาก

มาดูวิธีเชื่อมต่อกับ FTP Server ของโปรแกรม Dreamweaver กันเลยครับ

1.เปิดโปรแกรม Dreamweaver ขึ้นมาแล้วไปที่แท็บ FILES เลือก Manage Sites… ดังรูป



2.หน้าต่าง Manage Sites จะปรากฏขึ้นมา ให้เราเลือกที่ New เพื่อสร้างโปรเจ็คใหม่



3.ที่เมนู Site ให้ตั้งชื่อโปรเจ็ค หรือ Site Name และกำหนดPathสำหรับเก็บไฟล์จาก Server เอาไว้ในเครื่องของเรา โดยมันจะเก็บเฉพาะไฟล์ที่เราแก้ไขเท่านั้น


4.ต่อมาเลือกเมนู Servers แล้วคลิกเครื่องหมาย + ดังรูป

5.หลังจากที่กดเครื่องหมาย + แล้ว จะปรากฏหน้าต่าง ให้เรากรอกรายละเอียดของ FTP Server ที่เราต้องการจะเชื่อมต่อ ขึ้นมาดังรูป


ให้กำหนดค่าตามรูปข้างบนได้เลย โดยเปลี่ยนข้อมูลให้ตรงกับ Server ของท่านเท่านั้น และให้สังเกตุ Port ของ Server ของท่านให้ดีครับว่าใช้ Port อะไร สำหรับ Server ของผมใช้ Port 2002 ครับ

6.กดที่ปุ่ม Test ถ้าปรากฏข้อความ Dreamweaver connected to your Web server successfully แสดงว่าการเชื่อมต่อระหว่าง Dreamweaver กับ Server ถูกต้องสมบูรณ์แล้วครับ


 7.จากนั้นให้กดปุ่ม Save ได้เลย และคลิกที่เครื่องหมายตามรูปข้างล่าง เพื่อสั่งให้โปรแกรม Dreamweaver เชื่อมต่อกับ Server ครับ

ถ้าเชื่อมต่อ FTP ได้ถูกต้องจะได้ผลลัพธ์ดังรูป แต่ถ้าไม่ถูกต้องให้ลองทบทวนตามขั้นตอนที่ผมสอนใหม่อีกรอบครับ


8.จากนั้นเราสามารถเปิดไฟล์ต่างๆ ที่อยู่ในHost ขึ้นมาแก้ไขได้เลยทันที ซึ่งตอนนี้มันถูกนำมาแสดงในโปรแกรม Dreamweaver เรียบร้อยแล้ว และเมื่อเราแก้ไขไฟล์เสร็จแล้ว เราจะต้องคลิกขวาที่ไฟล์ แล้วเลือกเมนู Put เพื่ออัพโหลดไฟล์ที่แก้ไข ขึ้นไปทับไฟล์เดิมที่อยู่บน Server ของเราด้วยครับ



ช่วงนี้ไม่ค่อยมีเวลาเขียนบทความสอนทำร้านค้าออนไลน์เลย เพราะติดภารกิจเยอะมากครับ ต่อไปอาจจะมีโอกาสเขียนเดือนละ 1 บทความเท่านั้นครับ ตอนนี้ก็กำลังสนใจ Bootstrap อยู่ ว่างๆจะนำมาเขียนบทความให้อ่านกันครับ สงสัยหรือติดปัญหาตรงไหน สามารถสอบถามได้จากกล่องCommentด้านล่างเลยครับ ยินดีที่จะตอบข้อซักถามเสมอครับ ^__^

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น